ฉันทลักษณ์ของกลอนดอกสร้อย
กลอนดอกสร้อย เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดหนึ่งที่ปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว
ช้า กลอนดอกสร้อย กลอนที่แต่งขึ้นเพื่อขับร้อง กลอนดอกสร้อย ๑ บท มี ๔ บาท
หนึ่งบาทมี ๒ วรรค ใน ๑ วรรค จะมี ๖ - ๘ คำ ยกเว้นวรรคที่ ๑ มี ๔ คำ โดยคำที่ ๑
กับคำที่ ๓ ต้องซ้ำคำเดียวกัน คำที่ ๒ ต้องเป็นคำว่า เอ๋ย ส่วนคำที่ ๔
เป็นคำอื่นที่รับกัน และวรรคสุดท้ายของบทคือวรรคที่ ๘ จะลงท้ายด้วยคำว่าเอย
การสัมผัสบังคับ
๑. กลอนดอกสร้อย ๑บท มี ๔ คำกลอน (๔ บรรทัด) ๘
วรรค วรรคหนึ่งใช้คำประมาณ ๖-๘ คำ
๒.
วรรคแรกจะมี ๔ คำ คำที่ ๑ และ ๓ จะใช้คำซ้ำกัน คำที่ ๒ จะใช้คำว่า เอ๋ย ส่วนคำที่
๔ ใช้คำใดก็ได้แต่ต้องส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ ตามแผนผังข้างต้น
๓.
กลอนดอกสร้อยต้องลงท้ายด้วยคำว่า เอย เสมอ
แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อยที่ประกอบอยู่ในบทละครจะไม่ลงท้ายด้วยคำว่า เอย
๔.
ตำแหน่งสัมผัสและการใช้คำที่มีวรรณยุกต์ท้ายวรรค ใช้เหมือนกลอนสุภาพทั่ว ๆ ไป คือ
๔.๑ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑
กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แต่ไม่นิยมคำเสียงวรรณยุกต์ สามัญ
๔.๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์เอก โท และ จัตวา
๔.๓ คำสุดท้ายของวรรคที่
๓ และ ๔ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์ สามัญ และตรี
ที่มา : ฉันทลักษณ์กลอนไทย. ค้นหาเมื่อวันที่ ๒๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จาก : https://sites.google.com/site/chanthalakklonthai/system/app/pages/sitemap/hierarchy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น